การไปถ่ายรูป ในสถานที่ที่เย็นจัด ระดับ ติดลบ -20, – 40เราจะเริ่มเจอปัญหาอุปกรณ์ไม่เป็นอย่างที่เคยใช้ประเด็นหลัก ก็จะมีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกัน
1 แบตเตอรี่
ปัญหาที่เกิดกับแบตเตอรี่ ที่ต้องเจอก็คืออาการแบตไหล ซึ่งเกิดมาจากว่าตัวแบตเตอรี่เนี่ยจะต้องมีหน้าที่สร้างความร้อน เพื่อให้กล้องสามารถทำงานได้ราบรื่นเมื่อต้องคอยต่อสู้ความเย็นเนี่ยแบตจะหมดเร็ว ครึ่งต่อครึ่งทีเดียว เทคนิคที่พอจะช่วยรักษาแบบเตอรี่ได้
+ เก็บแบตไว้ในที่อุ่น เช่น กระเป๋าภายในเสื้อโค๊ท หรือ ในกระเป๋ากล้องอุปกรณ์ เราอาจวางแผ่นความร้อนไว้ใกล้ๆกับแบต
+ หาอุปกรณ์ หรือวัสดุหุ้มบริเวณที่บรรจุแบตบนตัวกล้อง
+ หยิบกล้องออกมาเมื่อพร้อมที่จะถ่ายภาพแล้วเท่านั้น เมื่อถ่ายเสร็จให้เก็บเข้ากระเป๋า เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิกล้องให้มากที่สุด
+ พกแบตเตอรี่สำรอง เป็นสองเท่าของการใช้ปกติ
+ เคยมีบางคำแนะนำให้เก็บกล้องไว้ใต้เสื้อโค๊ท แต่ส่วนตัวจะบอกว่าวิธีนี้เสี่ยง เพราะภายใต้เสื้อโค๊ท นอกจากจะอุ่น ความชื้นจากตัวเราก็สูงด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นอาจทำให้กล้องเสียหายจากความชื้น ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายกว่าแบตหมดเป็นอย่างมาก เราจึงแนะนำให้มีกระเป๋าอุปกรณ์ที่รักษาอุณหภูมิได้ แล้วใส่แผ่นความร้อนไว้สร้างความอุ่นให้เพียงพอ
ในส่วนของแบตเตอรี่นี้ เมื่อเรากลับมาสู่ในสภาพอุณหภูมิปกติ ประสิทธิภาพก็จะกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง
2 ความชื้น
ข้อนี้แหละค่ะ เป็นสิ่งที่ต้องเป็นห่วงมากที่สุด.. เพราะถ้าพลาดมันจะทำให้ทั้งตัวกล้องและเลนส์เสียหายถาวรได้เลยทีเดียว ความชื้นที่เราต้องระวัง ไม่ใช่ตอนที่เราออกไปผจญอุณหภูมิติดลบ แต่เป็นตอนที่เราต้องพาอุปกรณ์กลับเข้าสู่ภายในอาคารที่มีทั้งเครื่องทำความร้อน เครื่องเพิ่มความชื้น ส่วนใหญ่อากาศติดลบ จะเย็นและแห้ง จึงทำให้ผู้คนที่อาศัยในภูมิอากาศแบบนี้จะมีเครื่องสร้างความชื้นไว้ภายในอาคารเพื่อช่วยให้อากาศไม่แห้งจนเกินไป ดังนั้นเมื่อกล้องเย็นๆ กลับเข้ามาเจออากาศอุ่นๆ ชื้นๆ จะกล้องกันน้ำรุ่นไหน ก็ป้องกันการกระบวนการกลั่นตัวเมื่อเย็นกระทบร้อนไม่ได้ และ น้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวจะสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในทุกอณูของกล้องและเลนส์ได้ คำแนะนำที่ช่างภาพใช้กันมาก็คือ
มีวิธีป้องกันอยู่ 2-3 วิธี
+ พยายาม ดูดความชื้นออกจากกล้อง ให้มากที่สุด ก่อนที่จะเอากล้องไปใน สภาพอากาศอุณหภูมิติดลบ
+ เมื่อต้องการนำกล้อง กลับเข้ามา ใน อาคาร หรือในที่ที่มีอุณหภูมิอุ่น ให้ถอดเมมโมรี่การ์ด แบตเตอรี่ แล้วใช้ผ้าห่อทั้งเมมโมรี่การ์ดและกล้อง เราอาจจะถอด แยกระหว่าง Body กับเลนส์ แล้วเอาผ้าห่อ ในส่วนของ Body นั้นให้คว่ำหน้าลง เพื่อปล่อยให้น้ำลงมาที่ผ้าที่หุ้มไว้ ข้อควรระวังคืออย่าไปวางใกล้ฮีตเตอร์ เพราะจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและนั่นไม่ดีต่อกล้อง เพื่อให้ผ้าได้ซับเหงื่อ ที่จะเกิดขึ้นจากการนำ อุปกรณ์เข้ามากระทบกับอากาศอุ่นภายในอาคาร
ปล่อยอุปกรณ์ไว้จนกว่า อุปกรณ์ของคุณ จะปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับเดียวกับอุณหภูมิห้อง เมื่อปรับอุณหภูมิเรียบร้อยแล้ว เช็คให้มั่นใจว่าอุปกรณ์แห้งดีแล้วจึงเก็บ อุปกรณ์ใส่กระเป๋าเพื่อเตรียมตัวสำหรับวันต่อไป และให้มั่นใจว่าใส่สารดูดความชื้นไว้กับกระเป๋าอุปกรณ์เสมอ ที่สำคัญ กระเป๋ากล้องก็ต้องอยู่ในสภาพแห้งดีเช่นกัน
เหตุการณ์แบบนี้ป้องกันได้ด้วยการ ใช้ผ้า อาจจะเป็นผ้าพันคอ หรือ ปลอกคอที่เขานิยมใช้ในพื้นที่อากาศแบบนี้ ปิดบริเวณปากกับจมูกไว้ แล้วไอน้ำทั้งหมดที่คุณหายใจ จะขึ้นไปเกาะเป็นน้ำแข็งอยู่ที่ขนตาแทน 😁😁อย่างไรก็ตามอุปกรณ์อีกอย่างที่สามารถช่วยคุณได้ก็คือฝาเลนส์ปิดเข้าไว้เวลาที่ไม่ได้ใช้
3 ช่างภาพ
เมื่อปกป้องกล้องทุกอย่างแล้ว เราก็คงไม่ได้ภาพสวย ถ้าช่างภาพจะทนอากาศหนาวไม่ไหว ดังนั้นก็อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตัวเองให้พร้อม เพื่อที่ เราจะได้สามารถลุยอยู่ในอากาศหนาวนานพอที่จะเก็บภาพสวยๆได้
เกร็ดเล็กน้อยอีกเรื่องคือ การตั้งค่ากล้อง เราไม่ได้จะมาสอนวิธีการตั้งค่ากล้องแต่จะเตือน ให้นึกถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การถ่ายภาพใน ที่ที่มีหิมะหรือเป็นน้ำแข็งสิ่งที่แตกต่างคือส่วนใหญ่ของภาพจะเป็นสีขาว ซึ่ง ทำให้การปรับภาพในแบบปกติ ไม่ตอบโจทย์ ข้อแนะนำคือ เราจำเป็นต้องเพิ่ม ให้ภาพ Over 1-2 Stop เพื่อให้บริเวณที่เป็นหิมะนั้นยังคงเป็นสีขาว ไม่กลายเป็นสีเทา ดังค่าปกติที่กล้องได้ตั้งไว้ หรือในกล้องบางยี่ห้อ ก็จะมี ฟังก์ชั่น เรียกว่าการถ่ายภาพแบบ High Key ซึ่งก็ต้องศึกษา เทคนิคของกล้องแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น สุดท้ายนี้อย่าลืม การถ่ายรูปในบริเวณที่เป็นหิมะปกคลุม แสงสะท้อนจากหิมะสีขาวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกทาง ดังนั้น ฮูดเลนส์ จะช่วย ป้องกัน ภาพเสียหายจาก แสงสะท้อน ได้ และยังป้องกัน ไม่ให้หิมะเกาะลงบนหน้าเลนส์โดยตรงได้อีกด้วย
เมื่อเตรียมตัวพร้อม เราก็ออกไปสนุกกับการถ่ายในฤดูหนาวสุดขั้ว ได้อย่างสะใจ
You must be logged in to post a comment.